ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

วิสัยทัศน์ (Vision)

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เป็นโรงเรียนคุณภาพชั้นนำของประเทศ ระดับมาตรฐานสากล
พันธกิจ (Mission)
1. ด้านคุณภาพนักเรียน
ก. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน
1. พัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
2. พัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอธิบายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4. พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
6. สร้างเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ข. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1. พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่โรงเรียนกำหนด
2. ปลูกฝัง สร้างเสริมให้นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย
3. สร้างจิตสำนึกให้นักเรียนยอมรับที่จะอยูร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย
4. สร้างเสริมให้นักเรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม
2. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ
1. กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น นโยบายของ หน่วยงานต้นสังกัด และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพของโรงเรียนตามมาตรฐานสากล โดยใช้เกณฑ์ OBECQA
3. พัฒนางานวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
2. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
5. ส่งเสริมให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุง การจัดการเรียนรู้
เป้าประสงค์ (Goal)
1. ด้านคุณภาพนักเรียน
ก. ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน
1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ในแต่ละระดับชั้น
2. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล
3. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ และการทำงานเป็นทีมมาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม
4. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเอง สังคมอย่างสร้างสรรค์ และมี คุณธรรม
5. นักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับดีขึ้นไป รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบต่าง ๆ
6. นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน มีเจตคติที่ดีในการศึกษาต่อหรืองานอาชีพ
ข. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และจิตสำนึกที่ดีตามที่โรงเรียนกำหนด
2. นักเรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาไทย
3. นักเรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี
4. นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และการแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น
2. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ
1. โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น นโยบายของ หน่วยงานต้นสังกัด ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
2. โรงเรียนสามารถบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง สพฐ.
3. โรงเรียนมีการบริหารจัดการวิชาการทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพนักเรียนอย่าง รอบด้าน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
4. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญทาง วิชาชีพ
5. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการ จัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
6. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สะดวกต่อการเข้าถึง
3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ครูมีการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ของหลักสูตรสถานศึกษา ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
2. ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย
3. ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็กและเด็กรักเด็ก เด็กที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
4. ครูมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่ เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
5. ครูและผู้เกี่ยวข้องมีการร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้